คุณธรรม จริยธรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและ พรบ.คอมพิวเตอร์

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับชาวบ้าน

ข้อมูลนี้….ได้รับจากการส่งต่ออีเมล์ เห็นว่าเป็นประโยชน์เลยเอามาลงให้ได้รับข้อมูลกันกับคนใช้งานอินเตอร์เน็ต เข้าใจง่ายได้ใจความ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำลังจะมีการประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 พวกเราเลยต้องมารับรู้กันซะหน่อย ว่าทำอะไรผิดบ้างถึงจะถูกกฎหมายนี้ลงโทษเอาได้ พวกเราจะได้ระวังตัวกัน ไม่เผลอไผลให้อารมณ์พาไปจนทำผิดเน้อะ!!!
จะถอดความโดยสรุปเลยก็แล้วกันนะ ว่าทำอะไรผิดแล้วจะโดนลงโทษบ้าง

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา … เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ … เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
12. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
14. ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (จริงดิ?)

กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา … จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

พรบ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ VS ชาว IT

——————————————————————————–
เมื่อได้อ่าน พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว เริ่มเครียดครับ เนื่องจาก ผู้ให้บริการ Hosting และ Webprograming ต้องยุ่งยากในการเขียนเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาใช้งาน ว่าโดยเฉพาะการ เช็ค IP , วันเวลาที่เข้ามาใช้งาน และอีกหลาย ๆ อย่างซึ่งนอกจากเรื่องการพัฒนาโปรแกรมแล้ว ยังต้องมีการเก็บไฟล์ซึ่งทำให้ฐานข้อมูลโตขึ้นอีกด้วย ทั้งยังเว็บบอร์ด อันเป็นที่นิยมของเหล่านักโพส ทั้งหลาย ซึ่งวันนึง วันนึง ไม่รู้มีใครมาโพส เป็นจำนวนร้อย – พัน ต่อวัน คราวนี้เหล่าชาวเว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติ้ง ต้องหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตาม ๆ กัน ต่อไป ใครทำอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขาข้างนึงคงก้าวเข้าไปอยู่ในคุกล่ะนะครับ

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ เอกสาร ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐

พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ “ผู้ให้บริการ”

พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ “ผู้ให้บริการ”

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน “กระทำความผิด” ตาม พรบ.นี้

อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น

อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
อย่า กด “remember me” หรือ “remember password” ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ทำไมเราจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างบนนี้? เชิญอ่านรายละเอียดเต็มๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ เพื่อทราบเหตุผล และความผิดที่เกี่ยวข้อง

ผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ

ผู้ให้บริการ นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้ ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ
“มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง…
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท”
เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษา Traffic data ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกแบบ สามารถทำหน้าที่เก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้ตรงตามความจำเป็นขั้นต่ำ ประกาศดังกล่าวนี้ ยังเป็นหนทางที่จะทำให้เกิดธุรกิจบริการรับฝากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ เพราะจะมีผู้ให้บริการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทำตาม พรบ.นี้ได้ด้วยตนเอง
(อาจมีประกาศอื่นตามมาอีก)

หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้
ในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆดังนี้

ข้อมูลที่เก็บ ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร เข้ามาทางเครือข่ายทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร ในห้วงเวลาใด
นาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง เช่น ที่ NIST (สหรัฐอเมริกา) กรมอุทกศาสตร์ (กองทัพเรือ) สถาบันมาตรวิทยา (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือใช้เทียบเวลากับเครื่อง time server ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เนคเทค (ntp://clock.nectec.or.th) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายทั่วไป รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป สามารถตั้งเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโลกได้ด้วยความแม่นยำในระดับ 1 มิลลิวินาทีหรือดีกว่านี้
ข้อมูลจราจร ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน

พรบ. คอมพิวเตอร์ 50

ที่มา
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5127038/ethics.html
http://chariyathamwow.blogspot.com/

Categories: Uncategorized | 4 ความเห็น

สื่อสังคมออนไลน์

สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ

คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน

คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น

ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โ้ต้ตอบกันได้นั่นเอง

พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ

วิดีโอเพิ่มติมเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์

การสร้างประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์
คุณจะคิดอย่างไรหากมีคนบอกกับคุณว่ามีเพียงหนทางเดียวที่จะสร้างผลกำไรจากสื่อสังคมออนไลน์ แล้วคุณจะทำอย่างไรหากมีคนเสนอที่จะมอบแนวทางสำคัญที่สามารถปลดล็อค ไม่เพียงใน Twitter และ Facebook แต่รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ทั้ง forum หรือ Web Directory จะเกิดอะไรขึ้นหากคนมีพูดถึงแนวทางที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสามารถช่วยทั้งธุรกิจของคุณและงานอดิเรกด้านอื่นๆ คุณจะสนใจหรือไม่

ก่อนที่เราจะเข้าสู่ความลับในการสร้างผลกำไรจากสื่อสังคมออนไลน์ แล้วลองมาดูเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงไม่ประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากคนทั้งหมดที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการหาประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ สาเหตุคือความพยายามของพวกเขาไม่ต่อเนื่อง พวกเขาเข้าสู่สังคมออนไลน์อย่างรีบเร่ง มองหาเพื่อเพิ่มเพื่อนหรือเชิญชวนผู้คนสู่เว็บไซต์หรือ blog ของตนเองในสัปดาห์แรกๆ โดยพวกเขาใช้เวลานับชั่วโมงในการเชิญชวน ตอบรับคำชวน และติดต่อกลับ แต่กลับละเลยส่วนอื่นๆ ของธุรกิจของพวกเขาและได้เสียเวลาไปมากมายกับการกระทำดังกล่าวก่อนหน้า

การดำเนินการอื่นๆ เพื่อสร้างจำนวนการตอบรับจำนวนมากขึ้นด้วยการใช้ระบบเครื่องอัตโมมัติต่างๆ อาจสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้คนได้ แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ดำเนินการขายและขาย อย่างมากมายมหาศาล และต่อมาก็จะพบว่ามีผู้คนจำนวนมากยกเลิกการเข้าร่วมหรือ block พวกเขาจากกลุ่ม ซึ่งสุดท้ายก็จะย้อนกลับไปที่จุดเดิมที่เคยเป็นมาก่อนหน้า ที่จริงมีกุญแจสำคัญที่จะนำคนให้มาเข้าร่วมกับคุณโดยไม่ต้องเรียกร้อง เชื่อหรือไม่ว่านี่คือหนทางที่จะเรียกผู้คนเข้ามาหาคุณ และมันง่ายกว่าที่คุณจะคาดคิด

นี่คือความลับสุดยอด ซึ่งง่ายและชัดเจนมากๆ เป็นไปได้ว่าคุณอาจเขกหัวตัวเองเมื่อคุณได้อ่าน พลังของกุญแจในการปลดล็อคสื่อสังคมออนไลน์และผลประโยชน์ที่ได้กลับมาคือมูลค่า การผลักดันสื่อสังคมออนไลน์สู่ความความคิดของผู้คนทำได้ง่ายๆ คือการสร้างข่าวสารที่มีคุณค่าต่อชุมชน ให้แรงบันดาลใจ ให้ความรู้ สร้างศักยภาพ ทำให้ผู้คนรักคุณและวางแผนให้คนต้องการเข้ามาดูข้อมูลใหม่ๆ ของคุณ ทำให้พวกเขาคิดถึงคุณเมื่อคุณหายไป ที่จริงวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสร้างผลกำไรจากสื่อสังคมออนไลน์คือการจัดสร้างเนื้อหาที่ดีและมีคุณค่า จงใช้เวลา 90% ที่อยู่ในโลกออนไลน์ให้มีประโยชน์ และใช้อีก 10% ในการเข้าชมเว็บไซต์อื่นๆ ไม่เพียงจะมีคนที่ชื่นชอบคุณเข้าร่วมกับไซต์ของคุณแต่จะส่งผลไปถึงธุรกิจในที่สุด หากคุณต้องไม่ลืมเป้าหมายที่ต้องการมุ่งประโยชน์ทางคุณค่าและไม่ใช่เพียงการค้าขาย

ที่มา
http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=338:how-to-profit-from-social-media&catid=40:marketing-article&Itemid=71

http://thaiseobegin.blogspot.com/2010/12/social-media-marketing.html

Categories: Uncategorized | 2 ความเห็น

การสืบค้นข้อมูล

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) หมายถึง ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา

เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ http://www.google.com http://www.yahoo.com http://www.sanook.com เป็นต้น
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2 การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล คือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ คือ
“และ” ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
ตัวอย่าง ระบุว่า “ว.วินิจฉัยกุล” และ “เรื่องสั้น” ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
“หรือ” ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
ตัวอย่าง ระบุว่า “ว.วินิจฉัยกุล” หรือ “ทมยันตี” ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ ว.วินิจฉัยกุล และทมยันตี ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
“ไม่” ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
ตัวอย่าง ระบุว่า “ว.วินิจฉัยกุล” ไม่ “ประวัติ” ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล เลย
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม ? ใช้แทนอักษร 1 ตัว
เครื่องหมายดอกจัน* ใช้แทนอักษรหลายตัว
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ “วิญญา?”
ต้องการค้นเรื่อง ปัญจวัคคีย์ แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์ ปัญจวัคคี*
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

ในยุคแห่งเทคโนโลยีมีข้อมูลมากมายมหาศาลที่จะให้เราสืบค้น การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะกดคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลให้พบได้ง่ายๆ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ และในที่นี้จะขอยกตัวอย่างวิธีการการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต 5 วิธี ได้แก่

1. การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ http://www.google.com

• เข้าไปที่ http://www.google.com

• พิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์คำว่า ความหมายของอินเตอร์เน็ต ลงไปในช่องค้นหา และเมื่อพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาเสร็จแล้วให้กด ค้นหาด้วยGoogle

• การแสดงผลบนหน้าจอจะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา โดยเรียงลำดับจากคำที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

• เราสามารถเลือกเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งที่เราต้องการ แล้วเปิดดูได้ทันที หากไม่ตรงกับที่ต้องการก็คลิกเมาส์ไปที่ปุ่ม Back เพื่อกลับไปที่หน้าเดิมอีกครั้งแล้วเลือกเว็บไซต์อื่นๆใหม่

2. การสืบค้นรูปภาพ โดยใช้ http://www.google.com

• เข้าไปที่ http://www.google.com

• กดที่เปลี่ยนหมวดหมู่บริเวณด้นบนซ้ายมือ จาก เว็บ เป็น รูปภาพ

• พิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์คำว่า คอมพิวเตอร์ ลงไปในช่องค้นหา และเมื่อพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาเสร็จแล้วให้กดปุ่ม ค้นหาภาพ

• การแสดงผลบนหน้าจอจะปรากฏรูปภาพจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา โดยเรียงลำดับจากคำที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

• เราสามารถเลือกดูรูปภาพจากเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งที่เราต้องการได้ และหากไม่ตรงกับที่ต้องการก็คลิกเมาส์ไปที่ปุ่ม Back เพื่อกลับไปที่หน้าเดิมอีกครั้งแล้วเลือกรูปภาพอื่นๆใหม่

3. การสืบค้นข้อมูล ในรูปแบบ Index Directory

• วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยวิธี Search Engine การค้นหาข้อมูลแบบ Index จะมีการคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Web site ต่างๆออกเป็นประเภท
• วิธีการใช้งาน เราสามารถที่จะคลิกเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser
• จากนั้นหน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยที่ลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลในIndex ว่าในแต่ละประเภทจัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด
• เมื่อเราเข้าไปถึงฐานข้อมูลประเภทย่อยที่เราสนใจแล้ว จะมีการแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากเราสนใจเอกสารใดหรือต้องการอยากที่จะชม ก็สามารถคลิกลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที
• นอกจากนี้เว็บไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงเว็บไซต์ โดยนำเอาเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

4. การสืบค้นข้อมูล ในรูปแบบ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

• ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คือ ห้องสมุดที่สามารถใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดแบบธรรมดาทั่วไป

• ข้อดีของห้องสมุดอีเล็กทรอนิกส์ คือ การค้นหาข้อมูลทำได้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถค้นหาได้จากชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง เลขมาตราฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตราฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่ เฉพาะเจาะจงแต่ นิราศ ก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับชื่อผู้แต่งได้ คือ สุนทรภู่ ระบุหัวข้อเรื่อง คือ นิราศ ระบบจะประมวลผลผลงานสุนทรภู่เฉพาะที่เป็นนิราศเท่านั้น

5. การสืบค้นข้อมูลแผนที่ออนไลน์ ในรูปแบบ Google Maps

• Google Maps คือ บริการแผนที่ออนไลน์จาก Google แผนที่ออนไลน์นี้สามารถใช้งานได้หลายอย่าง เช่น หาตำแหน่งพิกัด ตรวจสอบสภาพการจราจร ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายจากอากาศยานที่มีความละเอียดของภาพสูง บริการค้านหาสถานที่ห้างร้านต่างๆ บริการค้นหาเส้นทางจากสถานที่ต้านทางไปยังสถานที่ปลายทาง บริการภาพถ่ายจากถนนในเมืองสำคัญๆ ที่ทำให้ผู้ใช้เห็นสภาพแวดล้อมและอาคารบ้านเรือนริมสองฝั่งถนน เป็นต้น

• นอกจากนี้ Google Maps ประเทศไทยยังแสดงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ใช้งานคนไทยในกรอบบริเวณด้านซ้ายมือ ได้แก่ รายชื่อเมืองยอดนิยม แผนที่ยอดนิยม และ Link สำหรับเพิ่มรายชื่อธุรกิจของเราบน Google Maps

• วิธีการใช้งาน คือ เปลี่ยนหมวดหมู่ ของ Google เป็น Maps

• จากนั้นพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาลงไปในช่องค้นหา ตัวอย่างเช่น พิมพ์คำว่า กรุงเทพ แล้วกด ค้นหาแผนที่

• หน้าจอจะแสดงผล พิกัดของกรุงเทพบนแผนที่ประเทศไทย และด้านซ้ายมือจะเป็นสถานที่สำคัญ สถานที่ยอดนิยม ฯลฯ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

ประโยชน์การสืบค้น

การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตนั้น มีประโยชน์อยู่หลายด้านด้วยกัน เช่น
1. ประหยัดเวลา :: อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า มีทุกอย่างอยู่ในอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีวิธีการ
ค้นหาและนำมาใช้ได้อย่างไร โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเสาะหาข้อมูลจากแหล่งความรู้จริง เช่นห้องสมุด
หนังสือ วารสาร หรือจากบุคคลผู้รู้อื่น ๆ
2. ได้ข้อมูลครบถ้วน :: เนื่องจากการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตนั้น เราสามารถสืบค้นข้อมูล
ได้อย่างหลากวิธีแบบ เช่น ข้อมูลข้อความ ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลมัลติมีเดีย หรืออื่น ๆ
ในเนื้อหาหนึ่ง ๆ ก็สามารถนำข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบมาอ้างอิงได้อย่างหลากหลาย
3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน :: ชุมชนในการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นชุมชนที่
มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน ในลักษณะให้ฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายบ้าง ถ้าหากเรามีการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลระหว่างกัน ย่อมทำให้การค้นหาข้อมูลที่สำคัญมีความหลากหลายมากขึ้น แหล่งที่สามารถ
สืบค้นข้อมูลได้ ได้แก่ เว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ หรือ เว็บไซต์ที่มีเว็บบอร์ดเพื่อแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine

1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์
เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

ในโลกยุคอินเทอร์เน็ทในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูล
จำนวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัย
การค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ ค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อ
ความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทย
และต่างประเทศ ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไป
ทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ
การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการ ค้นหาข้อมูล
ที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้
โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำ
หรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กำหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine
ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูล
ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย
จะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine
อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือก
ใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร
มีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับ
ความต้องการของเรา

เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลสารสนเทศใดๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือสรุปได้ดังนี้

ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ
ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
รองรับการค้นหา ภาษาไทย
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในรูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง Search Bar ที่ขอแนะนำ เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น

ที่มา
http://www.patwit.ac.th/search/nu2.html
http://portal.edu.chula.ac.th/kanapat.a/blog/view.php?Bid=1277092261613583&msite=kanapat.a
http://www.youtube.com/watch?v=252A1NLxodo

Categories: Uncategorized | 3 ความเห็น

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากภัยนี้จะเป็นการรบกวนการทำงานของผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่อีกด้วย

สปายแวร์ (Spyware) คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้ล่วงรู้ข้อมูลของผู้ใช้งานได้โดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว สามารถเฝ้าดูการใช้งานและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ เช่น นิสัยการท่องเน็ต และเว็บไซต์ที่เข้าชม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนค่าที่ตั้งไว้ของคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้าลง เป็นต้น สายแวร์ที่มีชื่อคุ้นเคยกันดีคือโปรแกรม Key logger ซึ่งตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ตที่แฝงโปรแกรมนี้ จะทำให้โปรแกรมเข้าฝังตัวในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ต ข้อมูล username และ password ของบัญชีผู้ใช้จึงถูกส่งตรงถึงมิจฉาชีพ และลักลอบโอนเงินออกมาโดยเจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัว
แม้จะชื่อว่า สปายแวร์ แต่ไม่ได้มีความหมายลึกลับเหมือนอย่างชื่อ แต่กลับถูกใชส้ สำหรับการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เสียมากกว่า ในอันที่จริง สปายแวร์จะได้รับความรู้จักในชื่อของ แอดแวร์ ด้วย ดังนั้นคำว่าสปาย แวร์จึงเป็นเพียงการระบุประเภทของซอฟต์แวร์เท่านั้น ส่วนความหมายที่แท้จริง สปายแวร์ หมายถึงโปรแกรม ที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช ก็อาจไม่ได้เจตนา แล้วเป็นผลให้สปายแวร์กระทำสิ่งต่อไปนี้ เช่น
1. อาจส่งหน้าต่างโฆษณาเล็กๆ ปรากฏขึ้นมา(ป๊อบอัพ) ขณะที่คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่
2. เมื่อคุณเปิดเว็บบราวเซอร์ เว็บบราวเซอร์จะทำการต่อตรงไปยังเว็บไซต์หลักของตัวส ปายแวร์ที่ถูก ตั้งค่าให้ลิ้งก์ไป
3. สปายแวร์อาจทำการติดตามเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม บ่อยๆ
4. สปายแวร์บางเวอร์ชั่นที่มีลักษณะรุกรานระบบจะทำการติ ดตามค้นหา คีย์ หรือ รหัสผ่าน ที่คุณพิมพ์ ลงไปเมื่อทำการ log in เข้าแอคเคาน์ต่าง ๆ
เมื่อสปายแวร์ได้แอบเข้ามาติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิ วเตอร์ของคุณแล้ว มันจะพยายามรัน process พิเศษบางอย่างซึ่งจะเป็นผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานช้าลงหรืออาจทำการเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ ได้ช้า หรืออาจเข้าสู่เว็บไซต์ที่ต้องการไม่ได้เลย นอกจากนี้ ยังส่งผลเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล (privacy) ในประเด็นต่อไปนี้ด้วย
1. คุณไม่สามารถทราบได้เลยว่าข้อมูลที่ถูกนำไปมีอะไรบ้าง
2. คุณไม่อาจทราบได้เลยว่าใครเป็นผู้นำข้อมูลu3648 เหล่านั้นของคุณไป
3. และคุณก็จะไม่ทราบเช่นกันว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้อย่างไรบ้าง

คุณจะทราบได้อย่างไรว่ามีสปายแวร์เข้ามาแอบติดตั้งอย อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

โดยทั่วไปสามารถสังเกตได้จากอาการผิดปกติดังนี้ (หากมีอาการใดอาการหนึ่งปรากฏ ก็สามารถระบุ ได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณติดสปายแวร์เข้าแล้ว)
1. คุณจะพบว่ามีหน้าต่างเล็กๆ ที่เป็นโฆษณาป๊อบอัพขึ้นมาเองบ่อยครั้งจนนับไม่ถ้วน
2. เมื่อคุณต้องการเข้าสู่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพิ มพ์ที่อยู่แอคเคาน์ (URL) ลงไปอย่างถูกต้องแล้ว แต่เว็บบราวเซอร์จะเข้าสู่เว็บไซต์ที่สปายแวร์ได้ตั้งไว้ และแสดงหน้าเว็บเหล่านั้น แทนที่จะเข้าไปยัง เว็บไซต์ที่คุณต้องการ
3. คุณจะสังเกตเห็นว่ามีแถบเครื่องมือใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็น หรือไม่คุ้นเคยเกิดขึ้นบนเว็บบราวเซอร์ ของคุณ
4.บริเวณ task tray ในส่วนแสดงการเปิดโปรแกรมที่กำลังรันอยู่ด้านล่างของ หน้าต่างวินโดว์จะปรากฏ แถบแสดงเครื่องมือหรือไอคอนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือไอคอนแปลก ๆ
5. หน้าหลักของบราวเซอร์ที่คุณเซ็ตค่าไว้ถูกเปลี่ยนไปใน ทันที
6. เมื่อคุณเรียก search engine ที่คุณเคยใช้ในการค้นหาขึ้นมา และทำการค้นหา หรือทันทีที่คลิ้กปุ่ม search เว็บบราวเซอร์จะไปเรียกหน้าเว็บที่แตกต่างไปจากเดิม
7. ฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ดบางอย่างที่เคยใช้งานจะเกิดอากา รผิดปกติ เช่น เคยกดปุ่ม tab เพื่อเลื่อนไปยัง ช่องกรอกข้อความในฟิลด์ถัดไปบนหน้าเว็บจะไม่สามารถใช้ในการเลื่อนตำแหน่งได้เหมือนเดิม เป็นต้น
8. ข้อความแสดงความผิดพลาดของซอฟต์แวร์วินส์โดว์จะเริ่ม ปรากฏบ่อยมากขึ้น
9. เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานช้าลงอย่างเห็นได้ชั ดเมื่อสั่งเปิดโปรแกรมหลายโปรแกรม หรือ ทำงานหลายอย่าง โดยเฉพาะในระหว่างการบันทึกแฟ้มข้อมูล เป็นต้น

การป้องกันสปายแวร์ไม่ให้แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องค อมพิวเตอร์ของคุณ
เพื่อที่จะป้องกันการเข้ามาติดตั้งสปายแวร์อย่างไม่ไ ด้ตั้งใจ แนะนำให้ปฏิบัติตามวิธีการ ดังนี้
ไม่คลิ้กลิ้งบนหน้าต่างเล็กๆ ที่ปรากฏขึ้นมาอัตโนมัติหรือโฆษณาที่ป๊อบอัพขึ้นมา เพราะป๊อบอัพ เหล่านั้นมักจะมีตัวสปายแวร์ฝังอยู่ การคลิ้กลิ้งเหล่านั้นจะทำให้สปายแวร์ถูกนำเข้ามาติด ตั้งบนเครื่องของคุณ ผ่านวินโดวส์ได้ในทันที ส่u3623 วนวิธีการปิดหน้าต่างป๊อบอัพเหล่านั้นควรคลิ้กที่ปุ่ม “X” บนแถบเมนู Title bar แทนที่จะปิดด้วยคำสั่ง close บนแถบแสดงเครื่องมือมาตรฐานของวินโดว์ (standard toolbar)
ตัวอย่าง ไดอะล็อกบ็อกซ์ที่ควรปิดด้วยการกด ปุ่ม “X”

ควรเลือกที่คำตอบ “No” ทุกครั้งที่มีคำถามต่างๆ ถามขึ้นมาจากป๊อบอัพเหล่านั้น คุณต้อง ระมัดระวังเป็นอย่างมากกับคำถามที่ปรากฏขึ้นมาเป็นได อะล็อกบ็อกซ์ต่างๆ แม้ว่าไดอะล็อกบ๊อกซ์เหล่านั้นจะ เกิดขึ้นตอนคุณกำลังรันโปรแกรมเฉพาะที่คุณจะใช้งาน หรือใช้โปรแกรมอื่นอยู่ก็ตาม ควรปิดหน้าต่างป๊อบอัพ เหล่านั้นด้วยวิธีคลิ้กที่ปุ่ม “X” บนแถบเมนู Title bar แทนที่จะปิดด้วยคำสั่ง close บนแถบแสดงเครื่องมือ มาตรฐานของวินโดว์ (standard toolbar)
ควรระมัดระวังอย่างมากในการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่จัด ให้ดาวน์โหลดฟรี เพราะมีหลายเว็บไซต์ ที่จัดหาแถบเครื่องมือแบบที่ให้ผู้ใช้ปรับแต่งเองหรื อมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ให้ปรับแต่งเองไว้ให้ ดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ต สำหรับท่านที่ต้องการใช้คุณสมบัติของเครื่องมือเหล่า นี้ ไม่ควรจะดาวน์โหลด เครื่องมือเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และต้องตระหนักเสมอว่ามันเป็นการปล่อยให้สปายแวร์ผ่า นเข้า มายังเครื่องคุณได้ด้วย
ไม่ควรติดตามอีเมล์ลิ้งที่ให้ข้อมูลว่ามีการเสนอซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์ เหมือนกับอีเมล์ที่ให้ ข้อมูลว่ามีการเสนอซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ซึ่งอันที่จริงลิ้งเหล่านั้นจะนำไปสู่แนวทางที่ตรงกั นข้าม คือเป็นการ ถามเพื่อให้คุณคลิ้กอนุญาตให้สปายแวร์เข้ามาดำเนินกา รติดตั้งในเครื่องโดยไม่ถูกขัดขวาง
เพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่ อลดความเสี่ยงต่อการติดสปายแวร์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณรู้สึกว่าเครื่องของคุณเสี่ย งต่อการติดสปายแวร์ควรปฏิบัติตามวิธีการ ต่อไปนี้เพื่อเป็นการลดความเสียงในการติดสปายแวร์ ปรับแต่งบราวเซอร์ไม่ให้อนุญาตให้รันป๊อบอัพ และคุกกี้ไฟล์ เนื่องจากป๊อบอัพเหล่านี้มักเกิดจาก สคริปต์ที่รันโดยวินโดว์หรือเนื้อหาที่มีการรันอัตโน มัติ การปรับแต่งภายในบราวเซอร์เป็นไปเพื่อลดหรือป้องกัน ไม่ให้สคริบต์หรือแอคทีฟคอนเทนต์ (Active Content) หรือลดจำนวนป๊อบอัพที่มักปรากฏขึ้นเองบ่อย ๆ บาง บราวเซอร์จะมีเครื่องมือปรับแต่งหรือปิดกั้น หรือจำกัดการป๊อบอัพของวินโดว์ ไฟล์คุกกี้ถาวรบางประเภทก็ จัดเป็นสปายแวร์เช่นกัน เพราะมันจะเปิดเผยว่าคุณเข้าสู่เว็บเพจอะไรบ้าง คุณสามารถปรับแต่งค่าความ ปลอดภัยบนบราวเซอร์ให้อยู่ในระดับที่มีความปลอดภัยสู ง หรืออนุญาตเฉพาะไฟล์คุกกี้ของเว็บที่กำลังจะ เข้าถึงเท่านั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ browsing safely: Understanding active content and cookies for more information) หรือ ดูได้จากบทความเผยแพร่ไวรัส เรื่องการปรับค่า Security Zone เพื่อป้องกันไวรัสของ โปรแกรม MS Internet Explorer
ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 ไปที่ Tool -> Internet option -> Security tab

ขั้นที่ 2 เมื่อเลือกแถบ Security แล้ว คลิ้กเลือก internet (ดังภาพ)

ขั้นที่ 3 คลิ้กที่แถบ Custom Level บริเวณด้านล่างของบ็อกซ์ (ดังภาพ) จากนั้นให้คลิ้ก Disable ActiveX Active script , Java Script และ File Download และกดปุ่ม OK
หมายเหตุ คุณต้องแน่ใจก่อนว่าผลที่เกิดจากการยกเลิกคุณสมบัติเ หล่านี้จะไม่กระทบต่อการเรียกใช้ งานระบบผ่านเว็บโดยผู้พัฒนาขององค์กร หากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นขอให้คุณติดต่อฝ่ายไอทีของ องค์กรเป็นผู้ปรับแต่งค่าเหล่านี้ให้แทน

วิธีกำจัดสปายแวร์
– ทำการสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างถี่ถ้วน ด้วยโปรแกรมแอนติไวรัส ซึ่งแอนติไวรัสบางยี่ห้อจะมี คุณสมบัติในการค้นหาและกำจัดสปายแวร์ แต่แอนติไวรัสอาจไม่สามารถมองหาสปายแวร์พบแบบ real time ได้ ดังนั้นควรกำหนดให้โปรแกรมแอนติไวรัสของคุณทำการสแกน หาไวรัสเมื่อเครื่องอยู่ในสภาวะปลอดจาก การใช้งานใดๆ และควรทำการสแกนอย่างถี่ถ้วนและสม่ำเสมอ เช่น วันละครั้งหลังเลิกงาน เป็นต้น
– ทำการติดตั้งโปรแกรมแอนติสปายแวรท์ ี่มีลิขสิทธิ์และถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดสปายแวร์ โดยเฉพาะมีผู้ผลิตหลายรายที่เสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสม บัตินี้ซึ่งจะสแกนหาสปายแวร์บนเครื่องและกำจัด สปายแวร์ออกจากเครื่องได้ สำหรับผลิตภัณฑ์แอนติสปายแวร์ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ LavaSoft’Adaware, Webroot’s SpySweeper, PestPatrol, Spybot Search and Destroy


ที่มา
http://www.thaigaming.com/howto/65526.htm
http://www.youtube.com/watch?v=kAXVjFcsjY8
http://www.youtube.com/watch?v=bLYOehfL5RM

Categories: Uncategorized | 8 ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.
Categories: Uncategorized | 1 ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .